เมื่อหลายวันก่อน Admin นั่งมองหลอดไฟที่บ้าน แล้วก็สังเกตว่า บ้านหลังเดียวนี่ใช้หลอดไฟหลายประเภทจริงๆ ก็ลองมาหาข้อมูลแบบสรุปๆหน่อยว่า หลอดไฟที่มีการใช้กันมากในประเทศไทยปัจจุบัน มีประเภทอะไรบ้าง
หลอดไส้
หลอดไส้หรืออินคานเดสเซนต์ เป็นหลอดไฟรุ่นแรกๆที่มีการพัฒนาแล้วก็ถูกใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ตามปกติจะมีอายุการใช้งานไม่นานและเกิดความร้อนที่หลอดมากกว่าหลอดประเภทอื่นๆ ไม่ค่อยประหยัดพลังงาน แต่เราสามารถยืดอายุการใช้งานได้โดยการติดตั้งสวิทช์หรี่ไฟเพื่อปรับระดับแสงค่ะ ซึ่งสวิทหรี่ไฟหรือสวิทปรับระดับแสงนี้นิยมใช้มากกับโคมไฟระย้าในห้องอาหาร ตามร้านอาหาร โรงแรม สปา หรือในห้องที่ต้องการให้แสงมีความนุ่มนวล หลอดไส้สามารถใช้กับสวิทช์หรี่ไฟของ Step ซึ่งมีหลายขนาดให้เลือกค่ะ
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดฟลูออเรสเซนต์
หรือที่คุ้นหูชาวเราอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ หลอดนีออนนั่นเอง หลอดไฟชนิดนี้เป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพเชิงแสงและอายุการใช้งานสูงกว่าหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมีทั้งขนาด 18 และ 36 วัตต์ ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างหลอดไส้ 100 วัตต์กับหลอดผอมนีออน 36 วัตต์ที่เปิดทิ้งไว้ทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง หลอดผอมจะประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ถึงเดือนละ 6.3 บาทต่อหลอด
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL)
หรือ หลอดตะเกียบ เป็นชนิดที่ให้สีของแสงออกมาเทียบเท่า 85% ของหลอดไส้ ใช้สำหรับแทนหลอดไส้ นอกจากจะประหยัดไฟแล้ว ยังมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า หลอดประเภทนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นหลายๆชนิดตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบขั้วเกลียวและขั้วเสียบ มีบัลลาสต์ภายนอกหรือในตัว เป็นต้น
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดฮาโลเจน
กำเนิดแสงจากความร้อน โดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ซึ่งเป็นการทำงานเดียวกับหลอดไส้ แต่มีข้อแตกต่างตรงการบรรจุสารตะกูลฮาโลเจน เช่น ไอโอดีน คลอลีน ฟลูออรีน ลงในหลอดแก้วที่ทำด้วยควอทซ์ ซึ่งจะช่วยให้หลอดฮาโลเจนมีอายุการใช้งาน ปริมาณแสงสว่าง อุณหภูมิสี สูงกว่าหลอดไส้ และให้แสงสีขาว และให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มีอายุการใช้งานประมาณ 1500-3000 ชม จึงนิยมใช้ให้แสงพวกเครื่องประดับ
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดแสงจันทร์
มีประสิทธิภาพแสงต่ำกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์เล็กน้อย แต่อายุการใช้งานนานกว่า นิยมติดไว้นอกอาคาร เช่นไฟถนน หลอดชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆคุณภาพแสงจะลดลง ปัจจุบันไม่นิยมแล้วค่ะ เนื่องจากดูแลรักษายากและยังมีส่วนผสมของปรอทซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดเมทัลฮาไลด์
เป็นหลอดคุณภาพแสงดีแต่ต้องใช้เวลาอุ่นหลอดเมื่อเปิด ลักษณะการกำเนิดแสงสว่างของหลอดชนิดนี้คล้ายกับหลอดแสงจันทร์ค่ะ แต่ภายในกระเปาะผสมฮาไลน์ชนิดต่าง ๆ ทำให้ได้ปริมาณแสงมากขึ้นกว่าหลอดแสงจันทร์เกือบเท่าตัว ได้แสงสีสมดุลขึ้น จนดูใกล้เคียงกับแสงแดด มักใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องของสีมาก ๆ เช่น งานพิมพ์สี สนามกีฬาเฉพาะที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอด LED
ย่อมาจาก light-emitting diode ซึ่งเป็นหลอดไฟทางเลือกใหม่ คุณภาพสูง แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย หลักการทำงานของหลอดประเภทนี้คืออาศัยการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนในสารกึ่งตัวนำ จะไม่มีการเผาไหม้เหมือนหลอดบางประเภท ดังนั้นจึงไม่เกิดความร้อน นอกจากนี้ยังมีขนาดเล็ก สามารถนำไปดัดแปลง จัดเรียงหรือตกแต่งได้หลากหลายประเภท มีอายุการใช้งานถึง 50,000 – 60,000 ชั่วโมง และยังไม่ก่อให้เกิดสารพิษเหมือนหลอดฮาโลเจนหรือหลอดแสงจันทร์ ถ้าไม่ติดว่าราคายังสูงอยู่ ก็ถือว่าเป็นหลอดไฟที่น่าใช้มากๆในยุคเทคโนโลยีล้ำหน้าแบบนี้ค่ะ ^^
ตามปกติเทคโนโลยี LED ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้กับสวิทช์หรี่ไฟได้อย่างสมบูรณ์ แต่มีหลอด LED บางประเภทที่จำหน่ายในต่างประเทศระบุว่าสามารถใช้กับสวิทช์หรี่ไฟได้ (Dimmable LED) แต่ก็ยังมีราคาที่สูงมาก
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
หลอดโซเตียมความดันสูง – อายุการใช้งานนาน ประสิทธิภาพสูงแต่คุณภาพแสงไม่ดี มักใช้กับไฟถนน คลังสินค้าหรือพื้นที่นอกอาคาร
หลอดโซเดียมความดันต่ำ – ประสิทธิภาพสูงแต่สีมีความเพี้ยนสูง มักใช้กับไฟถนนหรือไฟรักษาความปลอดภัย
[top_link]ขึ้นด้านบน[/top_link]
ที่มา : – สาระน่ารู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
[callout1]อย่าลืมให้คะแนนบทความของเรานะคะ[/callout1]